21:27
0

คําถามสัมภาษณ์งาน Part Time ทำที่บ้านที่เจอบ่อยๆ พร้อมคำตอบ ชนะใจกรรมการ เราได้รวบรวม คําถามสัมภาษณ์งาน ที่กรรมการชอบถามบ่อยๆ พร้อมทั้ง คำตอบที่ไม่ควรตอบ และ คำตอบที่ตอบแล้วคณะกรรมการจะชอบมาก พร้อมทั้ง เทคนิคเล็กๆน้อย มารวมไว้ที่นี่แล้ว หวังว่า คงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่จะไปสัมภาษณ์งาน ทุกคน ยังไงก็แนะนำต่อด้วยนะค่ะ


คําถามสัมภาษณ์งาน Part Time ทำที่บ้านที่เจอบ่อยๆ พร้อมคำตอบ ชนะใจกรรมการ

สารบัญ คําถามสัมภาษณ์งาน

3 คำถามสัมภาษณ์งานสุดหิน ที่ตอบดีมีชัยเกิน 50 %
  1. ช่วยเล่าเกี่ยวกับตัวคุณให้เราฟัง (tell-me-about-yourself)
  2. ทำไมคุณถึงคิดว่าเหมาะกับงานนี้ (Why do you think is right for this job)
  3. ตามความเข้าใจของคุณ คุณคิดว่าตำแหน่งนี้ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง
อีก 50 % ขึ้นอยู่กับคำถามสัมภาษณ์งานเหล่านี้
  1. จุดมุ่งหมายระยะยาวในการทำงานของคุณ คืออะไร
  2. จุดอ่อนของคุณ คืออะไร
  3. คุณรู้อะไรเกี่ยวกับบริษัทเราบ้าง
  4. ถ้าได้งานนี้ คุณคิดว่าจะทำงานที่นี่นานเท่าไหร่
  5. ทำไมคุณถึงออกจากงานเก่า
  6. อะไรคือสิ่งที่คุณชอบและไม่ชอบในงานเก่า (หรืองานที่กำลังทำอยู่)
  7. อะไรคือสิ่งที่คุณประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต
  8. ทำไมถึงอยากทำงานนี้
  9. คุณคิดอย่างไรกับหัวหน้า คนปัจจุบัน/คนเดิม 
  10. ในอนาคตอีก 7 ปี คุณจะทำอะไรอยู่ 
  11. คุณต้องการเงินเดือนเท่าไหร่
  12. ทำไมเราควรจะจ้างคุณ
  13. แรงจูงใจของคุณ คืออะไร
วีดีโอ ตัวอย่างการสัมภาษณ์งานที่ถูกต้อง
วีดีโอ ตัวอย่างการสัมภาษณ์งานที่ไม่ถูกต้อง 


3 คำถามสัมภาษณ์งานสุดหิน ที่ตอบดีมีชัยเกิน 50 %

1. ช่วยเล่าเกี่ยวกับตัวคุณให้เราฟัง (tell-me-about-yourself)

หลักการ : ใช้เวลาเพียง 2-3 นาทีสั้นๆ แบบกระชับได้ใจความ บอกเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงเป็นผู้สมัครที่ดีที่สุดสำหรับตำแหน่งนี้ รวมถึงยกตัวอย่างให้ฟังเพื่อช่วยอธิบายและเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเรา

คำตอบที่ไม่ควรตอบ : การเล่าทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับตัวเอง ตั้งแต่จบประถม มัธยม เข้ามหาลัย จนทำงาน แต่ไม่มีจุดเด่นอะไรเพียงพอที่จะทำให้ผู้สัมภาษณ์รู้สึกสนใจในตัวคุณ

คำตอบที่ถูกต้อง : หลังจากเรียนจบด้านบัญชีและทำงานที่บริษัทตรวจสอบบัญชีมา 5 ปี ทำให้เป็นคนทำงานเร็วและละเอียดรอบคอบ เพราะการตรวจสอบบัญชีแต่ละครั้งมีระยะเวลากำหนดชัดเจนว่ากี่วันหรือกี่สัปดาห์ ทั้งยังฝึกความเป็นผู้นำ เพราะต้องดูแลน้องในทีมที่ออกตรวจงานด้วยกัน รวมถึงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี สิ่งเหล่านี้ทำให้ดิฉันได้รับมอบหมายดูแลงานโปรเจคใหญ่ๆ อยู่เสมอ

หรือ : ดิฉันเป็นคนกระตือรือร้นและชอบติดต่อกับผู้คนมากค่ะ ประสบการณ์ในด้านเซลล์สองปีช่วยสร้างความมั่นใจให้ดิฉัน และทำให้รู้ว่าความจงรักภักดีของลูกค้าสำคัญแค่ไหน ในความรับผิดชอบครั้งสุดท้าย ดิฉันเริ่มโครงการส่งจดหมายข่าวของบริษัท ผลก็คือเราสนิทกับลูกค้าเดิมมากขึ้นและสร้างฐานลูกค้าใหม่ ๆ จนสามารถเพิ่มรายได้ให้บริษัทถึง 10% ภายในสองปีเท่านั้น นอกจากนี้ ดิฉันสนใจเกี่ยวกับการใช้ Web Tool ในเชิงการตลาด และสนใจจะพัฒนาแพลตฟอร์มให้บริษัทของคุณมากค่ะ

2. ทำไมคุณถึงคิดว่าเหมาะกับงานนี้ (Why do you think is right for this job)
 
หลักการ : โอกาสมาถึงแล้ว อย่ากลัวที่จะพูด อาจจะเริ่มจากประสบการณ์และความสามารถที่เคยผ่านมา อันเป็นสาเหตุทำให้คุณเหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งนี้ แล้วต่อด้วยเหตุผล ตัวอย่าง กรณีศึกษา สิ่งที่เป็นจุดเด่นและแตกต่างจากผู้สมัครคนอื่น

กรณีที่เพิ่งจบการศึกษาหมาดๆ ถ้าสมัยเรียนทำกิจกรรมมาเยอะ เช่น ออกค่าย ฝึกงาน โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน ฯลฯ อย่าลังเลที่จะบอกเล่าว่ากิจกรรมเหล่านั้น ทำให้ตัวเองเป็นคนที่เข้ากับคนอื่นง่าย รู้จักปรับตัว ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น และเรียนรู้เร็ว เป็นต้น

หากตกที่นั่งเด็กเรียน ไม่ค่อยสนใจกิจกรรม ให้ตอบว่าเป็นคนที่ทุ่มเทกับเรื่องที่ได้รับผิดชอบ เช่น เรื่องเรียนหรือรายงานกลุ่ม อาจยกเกรดเฉลี่ยเลขสวยๆ มาเป็นตัวอย่าง หรือวิธีการเลือกวิชาเรียน ที่แสดงให้เห็นว่ามีการเตรียมตัว วางแผนการเรียนมาเป็นอย่างดี

คำตอบที่ไม่ควรตอบ :การตอบคำถามสั้นๆ เช่น "ด้วยประสบการณ์ทำงาน 2 ปีที่ผ่านมา ผมเชื่อว่าสามารถทำงานนี้ได้" แล้วจบทันที ในกรณีนี้ คุณอาจจบเห่ เพราะไม่มีเหตุผลและตัวอย่างที่จะทำให้ผู้สัมภาษณ์เชื่อและมั่นใจในตัวคุณ

3. ตามความเข้าใจของคุณ คุณคิดว่าตำแหน่งนี้ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง

หลักการ : ทำการบ้านก่อนมาสัมภาษณ์ด้วยการอ่านรายละเอียดของงานและคุณสมบัติของผู้สมัครที่ทางบริษัทต้องการ ทำความเข้าใจกับมัน ตอบให้สั้นและกระชับใจความ สิ่งสำคัญก่อนตอบต้องมั่นใจว่าเข้าใจ ถ้าไม่แน่ใจส่วนไหนไม่ต้องกลัวที่จะถาม อาจตั้งคำถามกลับในทำนองว่า เข้าใจตำแหน่งงาน แต่ไม่แน่ใจเกี่ยวกับข้อมูลกลุ่มลูกค้า และผลิตภัณฑ์มากนัก อยากให้ช่วยอธิบายให้เข้าใจในเบื้องต้น

คำตอบที่ไม่ควรตอบ :ถ้าไม่รู้ อย่าพยายามตอบ เพราะถ้าตอบผิด นั่นหมายความว่าคุณไม่ได้ทำการบ้านมา ไม่ได้ให้ความสนใจกับงานนี้ แถมยังมั่วอีกต่างหาก


อีก 50 % ขึ้นอยู่กับคคำถามสัมภาษณ์งานเหล่านี้
  • จุดมุ่งหมายระยะยาวในการทำงานของคุณ คืออะไร
หลักการ : พูดถึงสิ่งที่อยากทำในอนาคต และต้องบอกวิธีที่จะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ ซึ่งควรจะเกี่ยวข้องกับงานที่สัมภาษณ์อยู่ เช่น อีก 5 ปีข้างหน้าอยากเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดที่เต็มไปด้วยศักยภาพและความสามารถในการพัฒนาพนักงานและองค์กรให้มีประสิทธิภาพ การที่จะถึงจุดนั้นได้ต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี เช่น การได้มีโอกาสทำงานที่บริษัทนี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งในการเตรียมตัวสำหรับอนาคต และอาจเพิ่มเติมตัวอย่าง เช่น วิธีการทำงานของตน เป็นต้น


คำตอบที่ไม่ควรตอบ :การตอบในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานที่สมัครอยู่ (ถึงแม้จะเป็นความจริง) เพราะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ เช่น อยากเปิดร้านอาหารในอีก 10 ปีข้างหน้า ถ้าตอบเช่นนั้น อาจโดนถามต่อว่าแล้วมาสมัครงานที่นี่ทำไม

  • จุดอ่อนของคุณ คืออะไร
หลักการ : ควรเลือกจุดอ่อนที่เป็นความจริงและกำลังปรับปรุงหรือพัฒนาในขณะนี้ ที่สำคัญควรบอกผลลัพธ์หลังการปรับปรุงด้วย เช่น ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง ซึ่งตอนนี้กำลังเรียนภาษาอังกฤษอยู่ เรียนมานานเท่าไหร่ ที่ไหน และผลการเรียนเป็นอย่างไรบ้าง

คำตอบที่ไม่ควรตอบ :มีหลายคนเคยบอกว่าให้เปลี่ยนจุดแข็งให้เป็นจุดอ่อน เช่น เป็นคนทำงานหนักมากๆ ไม่เสร็จไม่กลับ อาจจะฟังดูดี แต่คุณกำลังทำลายตัวเอง เพราะปัจจุบันนี้การรู้จักจัดสรรเวลา (work life balance) เป็นประเด็นสำคัญของคุณภาพชีวิต อีกอย่างคุณกำลังโกหกเพื่อให้ดูดี แถมตอบผิดประเด็นอีกต่างหาก

คำตอบที่ถูกต้อง : ดิฉันไม่ค่อยชอบพูดต่อหน้าสาธารณะค่ะ ซึ่งคุณคงทราบดีอยู่แล้ว ว่ามันอาจเป็นอุปสรรคในการทำงานได้ พอคิดได้ว่ามันเป็นปัญหา ดิฉันจึงลองเข้าอบรมการพูด จากนั้นมาก็นำเสนองานต่อหน้าผู้บริหารระดับสูงมากกว่า 100 ครั้ง แม้ตอนนี้ดิฉันก็ยังไม่ค่อยชอบการพูดอยู่เพียงแต่ฝึกจนให้คนอื่นจับไม่ได้เท่านั้นเองล่ะค่ะ
  • คุณรู้อะไรเกี่ยวกับบริษัทเราบ้าง
หลักการ : ก่อนมาสัมภาษณ์งาน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทราบและเข้าใจข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับองค์กรที่สมัคร เช่น ผลิตภัณฑ์ กลุ่มลูกค้า คู่แข่ง ภาพลักษณ์องค์กร ที่มาและประวัติขององค์กร ฯลฯ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า คุณได้ทำการบ้านมา และให้ความสนใจกับองค์กรอย่างแท้จริง อย่าลืมย้ำตอนท้ายด้วยว่า หลังจากที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์กร ทำให้เรามีความสนใจที่อยากจะทราบเกี่ยวกับองค์กรเพิ่มเติม

คำตอบที่ไม่ควรตอบ :การตอบแบบมั่นใจในตัวเองจนเกินไป หรือคำตอบที่สร้างภาพพจน์ไม่ดีให้กับตัวเอง เช่น "ทราบมาว่าที่นี่กำลังขาดผู้จัดการฝ่ายการตลาด ด้วยประสบการณ์งาน 3 ปีในด้านนี้ ทำให้คิดว่าสามารถแก้ปัญหานี้ได้" คำตอบอย่างนี้นอกจากไม่สร้างทัศนคติที่ดีขององค์กรให้กับตัวเองแล้ว ยังเป็นการโอ้อวดตัวเองเกินไป

  • ถ้าได้งานนี้ คุณคิดว่าจะทำงานที่นี่นานเท่าไหร่
หลักการ : ให้มุ่งประเด็นไปที่ความทุ่มเทของตัวเองและความท้าทายของงาน ด้วยการบอกว่าตราบใดที่งานมีความยากและท้าทาย ก็จะขอจะทุ่มเทความสามารถของตัวเองให้เต็มที่เพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้กับองค์กร

คำตอบที่ไม่ควรตอบ :บอกแผนการหรือระยะเวลา (ซึ่งเป็นความจริง) เช่น มีแผนไปเรียนต่ออีก 2-3 ปีข้างหน้า หรือ ทางบ้านมีแผนให้ไปช่วยธุรกิจที่บ้าน

  • ทำไมคุณถึงออกจากงานเก่า
หลักการ : ตอบความจริงให้มากที่สุด แต่สั้นกระชับใจความ ไม่จำเป็นต้องตอบทั้งหมดถ้าความจริงมันเลวร้ายเหลือเกิน อย่าลืมว่าผู้สัมภาษณ์อาจขออนุญาตติดต่อบุคคลอ้างอิงเพื่อทำการตรวจสอบข้อมูลเหล่านั้น

คำตอบที่ไม่ควรตอบ :ควรหลีกเลี่ยงการวิจารณ์ที่ทำงานและนายเก่า เพราะเหล่านี้จะทำให้ภาพลักษณ์ของคุณดูแย่ และนั่นหมายถึงความกล้าที่จะวิจารณ์บริษัทต่อๆ ไปที่คุณร่วมงานด้วย

  • อะไรคือสิ่งที่คุณชอบและไม่ชอบในงานเก่า
หลักการ : ควรบอกสิ่งที่ชอบมากกว่าสิ่งที่ไม่ชอบ และให้คำอธิบายรวมถึงเหตุผลว่าทำไมเราจึงคิดเช่นนั้น

คำตอบที่ไม่ควรตอบ :บอกในสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องงานหรืออ้างอิงถึงบุคคล เพราะนั่นหมายถึงคุณกำลังวิจารณ์คนอื่น ไม่จำเป็นต้องเล่าทุกอย่างที่แย่ๆ เกี่ยวกับงาน เพราะไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมา

  • อะไรคือสิ่งที่คุณประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต
หลักการ : ควรจะเป็นเรื่องที่รู้สึกภูมิใจที่สุดในช่วง 1-2 ปีของการทำงาน คุณอาจพูดถึงการเลื่อนขั้น ปรับตำแหน่งในการทำงาน หรือตลอดระยะเวลาที่ทำงานมามีแต่ความราบรื่นไม่เคยมีปัญหากับลูกค้า

หากคุณมีความสำเร็จชัดเจน เช่น สามารถทำยอดการขายได้ทะลุเป้า 200% หรือ สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ 25% ให้เล่าที่มาของเรื่องนั้น วิธี แนวดำเนินการ ผลลัพธ์ ตลอดจนอุปสรรคที่เกิดขึ้น รวมถึงวิธีการแก้ปัญหา

ถ้าเป็นผู้สมัครที่เพิ่งจบการศึกษาหมาดๆ อาจจะพูดถึงเกรดเฉลี่ย หรือความภาคภูมิใจที่สามารถสอบเข้ามหาลัยที่มีชื่อเสียงได้

คำตอบที่ไม่ควรตอบ :การแต่งเรื่องขึ้นเองหรือพูดเกินจริงกว่าสิ่งที่ได้ทำ ส่งผลให้วิธีการเล่าแตกต่างไป ซึ่งผู้สัมภาษณ์ที่มีความเชี่ยวชาญ จะสามารถตั้งคำถามต้อนจนจับได้ว่าเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น

  • ทำไมถึงอยากทำงานนี้
หลักการ : ใครๆ ก็บอกว่า ชอบช้อปปิ้ง, ชอบเขียน, ชอบขายของ ได้ทั้งนั้น สิ่งที่คุณต้องเน้นก็คือประวัติการทำงานในสายงานหรือการอบรมที่เกี่ยวข้อง ถ้ามีประสบการณ์เป็นตัวอย่างก็อย่าลืมเล่าเสริมไปด้วย

คำตอบที่ไม่ควรตอบ : ดิฉันชอบช้อปปิ้งค่ะ ตอนเด็กๆ ยังเคยนั่งเปิดเคตตาล็อกสินค้าได้เป็นชั่วโมง”

คำตอบที่ถูกต้อง : ดิฉันชอบซื้อของ แต่มาสนใจตลาดค้าปลีกจริง ๆ ตอนที่ทำงานในห้องเสื้อใกล้บ้าน ตอนนั้นดิฉันทราบว่าเสื้อผ้าของเราสวยมาก แต่เราไม่ได้ทำการตลาดดีพอจากนั้น ดิฉันจึงทำงานร่วมกับฝ่ายบริหาร และร่วมมือกันคิดกลยุทธ์การตลาดที่ทำให้ยอดขายของเราพุ่งขึ้นถึง 25% ภายในปีเดียว ดิฉันคิดว่าการที่เราสามารถทุ่มเทให้แก่งานที่เราชื่นชอบจริง ๆ เป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ รวมถึงการช่วยโปรโมตสินค้าที่ดิฉันเชื่อมั่นด้วย
  • คุณคิดอย่างไรกับหัวหน้า คนปัจจุบัน/คนเดิม 
หลักการ : ถ้าคุณได้งานนี้ สักวันหนึ่งคนที่สัมภาษณ์คุณก็จะกลายเป็น เจ้านายเก่า เหมือนกัน รับประกันได้ว่าเขาคงไม่อยากจ้างคนที่นินทาเขาลับหลังหรอก พยายามมองในแง่ดีและพูดถึงสิ่งดี ๆ ที่เราได้เรียนรู้ดีกว่า (ต่อให้ความเป็นจริงจะแย่สุด ๆ ก็เถอะ)

คำตอบที่ไม่ควรตอบ : หัวหน้าของดิฉันไม่ค่อยมีประสิทธิภาพค่ะ แกทำงานด้วยยาก ดิฉันเลยตัดสินใจลาออกค่ะ

คำตอบที่ถูกต้อง : ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการบริหารเวลาจากหัวหน้า เพราะเขาเคร่งเรื่องเดดไลน์มาก หัวหน้ามีนิสัยที่จะไม่เล่นระหว่างทำงานเด็ดขาด ทำให้ดิฉันผลักดันให้ตัวเองทำงานหนักมากขึ้นเพื่อให้ทันเดดไลน์โดยที่ไม่เคยคิดด้วยซ้ำว่าเป็นไปได้
  • ในอนาคตอีก 7 ปี คุณจะทำอะไรอยู่ 
หลักการ : คำถามนี้ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด สำคัญอยู่ที่คนสัมภาษณ์เขาอยากรู้ว่าคุณทะเยอทะยาน รักการทำงาน และทุ่มเทให้แก่องค์กรมากแค่ไหน ดังนั้น แทนที่จะเล่าความฝันในอนาคตหรือเล่าเรื่องขำขัน พยายามตอบให้เห็นความมุ่งมั่นของคุณดีกว่าน

คำตอบที่ไม่ควรตอบ :ะคงจะทำงานอยู่ค่ะ/เกษียณและพักผ่อนสบาย ๆ

คำตอบที่ถูกต้อง :ภายใน 5 ปีนี้ ดิฉันหวังว่าจะได้รู้จักกับธุรกิจนี้ดียิ่งขึ้น และเนื่องจากดิฉันชอบติดต่อกับผู้คน ดิฉันก็อยากจะทำงานในฝ่ายบริหารที่ได้ใช้ความรู้ในสายงานพร้อม ๆ กับทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ให้เป็นประโยชน์กับเพื่อนร่วมงานและองค์กรค่ะ
  • คุณต้องการเงินเดือนเท่าไหร่
หลักการ : ถ้าเลี่ยงได้ก็อย่าระบุตัวเลข แทนที่จะบอกตรง ๆ ให้สำรวจระดับเงินเดือนตำแหน่งเดียวกันมาก่อน (ละแวกเดียวกันด้วย) และค่อยย้ำความมุ่งมั่นต่อการทำงานอีกที

คำตอบที่ไม่ควรตอบ :เดิมทีดิฉันได้ 35,000 ตอนนี้เลยอยากได้ค่าตอบแทนประมาณ 40,000 ค่ะ

คำตอบที่ถูกต้อง :ดิฉันสนใจเนื้องานมากกว่าค่าตอบแทนค่ะ แต่ก็หวังว่าจะได้รับเงินเดือนที่เหมาะสมกับประสบการณ์ห้าปีในหน้าที่นี้ และก็คิดว่าเงินเดือนจะต้องพอกับค่าใช้จ่ายในกรุงเทพฯ ด้วย
  • ทำไมเราควรจะจ้างคุณ
หลักการ : คำตอบที่ดีควรจะย้ำอีกครั้งถึงคุณสมบัติของเรา และก็เน้นจุดเด่นเข้าไปอีกที

คำตอบที่ไม่ควรตอบ : ดิฉันเป็นผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุดค่ะ     

คำตอบที่ถูกต้อง :ดิฉันเป็นผู้ช่วยผู้บริหารมาตลอด 10 ปี หัวหน้าคนเดิมพูดเสมอ ๆ ว่าถ้าไม่มีดิฉัน องค์กรคงอยู่ไม่ได้ นอกจากนี้ ดิฉันยังได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่เป็นประจำ (แต่ไม่เข้าใจระบบของมันจริง ๆ สักเท่าไหร่) ตอนนี้ดิฉันใช้ Excel ได้ดีเยี่ยม ซึ่งทำให้ดิฉันทำงานได้เร็วขึ้น และก็ช่วยแบ่งเบาภาระงานเดิมของหัวหน้าได้บ้าง
  • แรงจูงใจของคุณ คืออะไร
หลักการ : คำตอบเช่นนี้ไม่ผิดอะไร เพียงแต่น่าเสียดายโอกาส เพราะคำถามนี้แทบเป็นการขอร้องให้คุณเปิดเผยทัศนคติดี ๆ ออกมาเลยนะ ดังนั้น จงอย่าให้คำตอบตื้น ๆ สั้น ๆ มันบอกเกี่ยวกับตัวคุณเองได้น้อยมาก ให้มองว่าคำถามนี้เป็นโอกาสที่จะให้คนสัมภาษณ์รู้จักตัวตนที่แท้จริงของคุณพร้อม ๆ กับเล่าประสบการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริงไปด้วย

คำตอบที่ไม่ควรตอบ :การทำงานได้ดีและได้รับรางวัลตอบแทนค่ะ

คำตอบที่ถูกต้อง : ดิฉันชอบความท้าทายของเดดไลน์-ในตำแหน่งปัจจุบัน ดิฉันสามารถส่งผลิตภัณฑ์ได้ตรงเวลาถึง 100% โดยที่ไม่เกินงบประมาณด้วย ดิฉันทราบดีว่างานนี้เน้นความรวดเร็วและเดดไลน์ก็เคร่งครัดมาก แต่ดิฉันไม่ได้แค่พร้อมสำหรับความท้าทายค่ะ จริง ๆ แล้วดิฉันทำงานได้ดีที่สุดในสภาพที่กดดันค่ะ

วีดีโอ ตัวอย่างการสัมภาษณ์งานที่ถูกต้อง




วีดีโอ ตัวอย่างการสัมภาษณ์งานที่ไม่ถูกต้อง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น